วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ ๓ อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่
ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ๓ อย่าง ได้แก่

1. อนิจจตา (อนิจจัง)

ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป

ในโลกนี้ไม่มีอะไร​แน่นอน Nothing’s steady in this world.

2. ทุกขตา (ทุกขัง)
ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว

*ในโลกนี้มี​แต่ทุกข์ This world is full of pain.

3. อนัตตตา (อนัตตา)
ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร


*ในโลกนี้ไม่มีอะไร​​ที่​เป็นตัวตน ไม่มีอะไร​​ที่​เป็นของเราหรือตัวเราจริงๆ​ เรา​ไปสมมุติมันขึ้น​มาเอง


Nothing’s really exist in this world. Nothing’s really belong to us in this world.

ลักษณะ ๓ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิกาย คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร



http://www.oknation.net/blog/Duplex/2008/05/26/entry-4



2 ความคิดเห็น: