วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปหัวข้อที่สอบ กลางภาคสังคม ม.2

หัวข้ออ่าน
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
2. ปัจจัยการผลิต
3. กระบวนการทางเศรษฐกิจ
4. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
5. ค่าเสียโอกาส
6. อรรถประโยชน์
7. กลไกราคา/กลไกลตลาด
8. อุปสงค์-อุปทาน-ดุลยภาพ
9. ระบบเศรษฐกิจ
10. หน่วยธุรกิจ
11. ต้นทุน
12. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
13. การพัฒนาเศรษฐกิจ
14. ธนาคาร /สถาบันการเงิน
15. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ลิมอ ดาซาร์

ลิมอ ดาซาร์
ครั้งที่ 1 (The 1 Lima Dasar Summit )


เปิดประตูการค้าระหว่าง 2 ประเทศ คือ ไทย และมาเลเซีย
มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
และ 5 รัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย
ตามยุทธศาสตร์ลิมอดาร์ซาร์ 5 จังหวัด 5 รัฐ และยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจใหม่ 5–5–5 ตามนโยบายเปลี่ยนบังเกอร์เป็นเคาน์เตอร์
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง 5 รัฐทางภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย
ได้แก่รัฐเคดาห์ ปะลิส เปรัค กลันตัน และปีนัง
กับทาง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่
นราธิวาส ปัตตานี สงขลา ยะลา และสตูล
ใน 5 สาขาเศรษฐกิจ ได้แก่
การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และโลจิสติกส์


จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ หรือ Business Matching และงานแสดงสินค้า ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมี นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมี นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย Dato Mukhriz Mahathir รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ มาเลเซีย และ H.E.Othsman Hassan รัฐมนตรีช่วยกระทรวงแรงงานกัมพูชา เข้าร่วมงาน

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปแนวข้อสอบศาสนา


นายอาศีส พิทักษ์คุมพล

จุฬาราชมนตรีคนที่18



พระคาดินัลมีชัย กิจบุญชู

ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู
เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทย ในนิกายโรมันคาทอลิก
และ พระสังฆราชกิตติคุณแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ศาสนาเปรียบเทียบ

1. องค์ประกอบของศาสนาแต่ละศาสนา

ศาสนายูดาย

ศาสนาคริสต์

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาอิสลาม


2. ความแตกต่างของแต่ละศาสนา





วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

กลอนทำความดี ม.4/4

ให้นร.ห้อง ม.4/4 มาลงกลอนได้ที่นี่
คะแนนช่วย 5 คะแนน

กลอนทำความดี ม.4/6

ให้นร.ห้อง ม.4/6 มาลงกลอนได้ที่นี่
คะแนนช่วย 5 คะแนน

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

งานทั้งหมดวิชาศาสนาฯ

ตรวจสอบงานทั้งหมด วิชาศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม ม.4 ที่ นร.ต้องส่ง

‎1. สอบแผ่เมตตา
2. สอบท่อง..สรภัญญะ..
3. แต่งกลอนรณรงค์ให้คนทำความดี(ลงในบล็อกkru.eed ด้วย)
4. ชิ้นงาน อ่านหนังสือธรรมมะ
5. ท่องพุทธศาสนาสุภาษิตพร้อมแปล 5 ประโยค...
6. สอบอ่านพุทธศาสนสุภาษิต (หยิบฉลาก)
7. การ์ตูนพระอัครสาวก (งานกลุ่ม)8. mv งานกลุ่ม
9. ชิ้นงานใส่บาตร
10. บทบาทสมมติวิธีสอนของพระพุทธเจ้า

พระสงฆ์


**


**หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน
วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี**
--- *****
**ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย
วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน **


**หลวงปู่ขาว อนาลโย **



นร.สามารถ อ่านรายละเอียดได้ที่นี่


http://www.tlcthai.com/

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ ๓ อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่
ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ๓ อย่าง ได้แก่

1. อนิจจตา (อนิจจัง)

ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป

ในโลกนี้ไม่มีอะไร​แน่นอน Nothing’s steady in this world.

2. ทุกขตา (ทุกขัง)
ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว

*ในโลกนี้มี​แต่ทุกข์ This world is full of pain.

3. อนัตตตา (อนัตตา)
ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร


*ในโลกนี้ไม่มีอะไร​​ที่​เป็นตัวตน ไม่มีอะไร​​ที่​เป็นของเราหรือตัวเราจริงๆ​ เรา​ไปสมมุติมันขึ้น​มาเอง


Nothing’s really exist in this world. Nothing’s really belong to us in this world.

ลักษณะ ๓ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิกาย คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร



http://www.oknation.net/blog/Duplex/2008/05/26/entry-4



วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปาฏิหารย์

สิ่งที่เรียกว่าปาฏิหาริย์หรือความมหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดานั้นมีสามประการคือ

ประการแรก ได้แก่อิทธิปาฏิหาริย์


ได้แก่การกระทำความมหัศจรรย์โลดโผนต่าง ๆ ล่วงพ้นวิสัยของมนุษย์ เช่น คนเดียวทำเป็นหลายคน หลายคนทำเป็นคนเดียว หายตัวไป เหาะเหินเดินอากาศ เดินฝ่ากำแพงภูเขาได้ เดินไปบนน้ำได้ ดำดินได้ ลุยไฟได้ เป็นต้น

ประการที่สอง ได้แก่อาเทศนาปาฏิหาริย์


คือการทายใจหรือการกำหนดรู้ใจผู้อื่นแล้วกระทำการที่ตรงกับใจเป็นที่อัศจรรย์ ทำให้เกิดความสว่างกระจ่างแจ้ง ตรงกับปัญหาค้างคาอยู่ในใจนั้น

ประการที่สาม ได้แก่อนุสาสนีปาฏิหาริย์


คือการสอนเป็นที่อัศจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ด้วยอรรถะ พยัญชนะ งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และได้รับผลของความรู้นั้นอย่างรวดเร็ว ดังที่ปรากฏคำสรรเสริญพระตถาคตเจ้าจากบรรดาผู้ฟังธรรมมากหลายในพระไตรปิฎกว่า “แจ่มแจ้งดังเปิดของคว่ำให้หงายขึ้น


การฝึกฝนอบรมโดยหนทางเจโตวิมุตจะทำให้ได้รับผลหรือบรรลุถึงวิชชาแปดประการ หรือได้รับสมาบัติ หรือฌานสมาบัติแปดประการ คือ

ประการแรก อิทธิวิธิญาณ หรืออิทธิ ฤทธิ์ คือความรู้หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่กระทำให้เกิดความสำเร็จหรือความมหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดา

ประการที่สอง ทิพยโสตญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้หูเป็นทิพย์

ประการที่สาม เจโตปริยญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการรู้ความคิดจิตใจของผู้อื่น

ประการที่สี่ ทิพยจักษุญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้ตาเป็นทิพย์

ประการที่ห้า มโนมยิทธิญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการกระทำความมหัศจรรย์ให้สำเร็จได้ด้วยใจ

ประการที่หก บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการหยั่งรู้อดีตชาติหรือชาติก่อน ๆ ได้

ประการที่เจ็ด จุตูปปาตถญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการหยั่งรู้การเกิด ดับ ของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป

ประการที่แปด อาสวัคขยญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งหลาย

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีสอนของพระพุทธเจ้า

1. หลักพื้นฐานการสอน
หลักการสอนที่ดี
1.1 สันทัสสนา การอธิบายให้เห็นชัดเจน แจ่มแจ้ง
1.2 สมาทปนา การจูงใจให้อยากรับไปปฏิบัติ
1.3 สมุตเตชนา การทำให้กล้าหาญและมั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จ ได้1.4 สัมปหังสนา การทำให้เบิกบาน ฟังไม่น่าเบื่อ

2. วิธีการสอน
2.1 สอนแบบธรรมดาสากัจฉา (สอนแบบสนทนา)
2.2 สอนแบบบรรยาย
2.3 สอนแบบตอบปัญหา
ปัญหา 4 ประเภท
- ปัญหาตายตัว ตอบตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม
- ปัญหายอกย้อน ตอบด่วนทันทีไม่ได้ เพราะอาจเกิดความผิดพลาด
- ปัญหาแยกตอบ ต้องแยกประเด็นตอบ อย่าด่วนตอบ
- ปัญหาไม่ตอบ ไม่ต้องตอบเพราะชวนทะเลาะ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และสิ้นเปลืองเวลา
2.4 วิธีสอนแบบวางกฎข้อบังคับ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อินทร์ พรหม และจตุโลกบาล

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้ปกครองดูแล คอยแบ่งกันครอบครองดังนี้

ด้านทิศตะวันออก
เป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรฐ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มีความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในการขับกล่อมเพลงยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุมกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้นพวกคนธรรพ์ ก็จะไปทำหน้าที่ขับกล่อมเพลงและรำบำรำฟ้อนเพื่อความสำราญของเหล่าเทวดา

ด้านทิศใต้
เป็นที่อยู่ของท้าววิรูปักษ์ มีพวกนาคเป็นบริวาร นาคนี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีฤทธิ์เดชมาก เพราะเพียงแค่พิษของนาคถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็สามารถตัดเอาผิวหนังของบุคคลนั้นและทำให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตา พวกนาครู้จักเนรมิตตนเป็น มนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เพื่อท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ตามอัธยาศัยอย่างสุขสำราญหากบุคคลใดได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก ทำให้ชอบใจ แล้วทำคุณงามความดีด้วยกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งปรารถนาไปเกิดเป็นนาค บุคคลนั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปเกิดเป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา

ด้านทิศเหนือ
เป็นที่อยู่ของท้าวเวสวัณหรือ ท้าวเวสสุวัณ มีพวกยักษ์ เป็นบริวาร ยักษ์ นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีสันดานแตกต่างกัน บางตนก็มีสันดานดีประกอบด้วยศีลธรรม บางตนก็มีสันดานร้ายมีจิตใจเต็มไปด้วยโทสะโมหะ เป็นอันธพาลที่มีใจกล้าหาญดุดันท้าวเวสวัณมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ท้าวกุเวร เพราะในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อยตัดใส่ลงไปในหีบยนต์แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้นจนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง ๗ เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่งซึ่งมีประมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนเดินผ่านไปมาจนตลอดอายุขัยด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร"ต่อมากุเวรเทพบุตรได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลพระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสวัณ"

ท้าวมหาราชทั้ง ๔
๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองคันธัพพ เทวดาทั้งหมด
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา ทั้งหมด
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคะ เทวดาทั้งหมด
๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขะเทวดาทั้งหมด

สังเวชนียสถาน 4 ตำบล

สังเวชนียสถาน (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน)

แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ

สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น
สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ
สถานที่ประสูติ
สถานที่ตรัสรู้
สถานที่แสดงปฐมเทศนา
สถานที่ปรินิพพาน

สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ

ลุมพินีวัน

เป็นอุทยานที่น่ารื่นรมย์ อยู่กึ่งกลางรหว่างเมืองเทวทหะ

กับกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันเรียกว่า รุมมินเด อำเภอไพราว่า ประเทศเนปาล ห่างจากพรมแดนอินเดียราว 23 กิโลเมคร สิ่งที่ค้นพบ คือ ซากวัดเก่าแก่ สระน้ำที่พระนางสิริมหามายาทรงสนาน, รูปปั้นหินอ่อนตอนพระนางประสูติพระราชโอรส และเสาหินที่พระเจ้าอโศกมหาราชจารึกไว้ว่า เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า.

พุทธคยา

เป็นสถานที่ตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นต้นที่ 4 นับจากต้นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ส่วนเจดีย์พุทธคยาที่เห็นนี้ สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ราว พ.ศ. 236 และได้ต่อเติมสมัยพระเจ้าหุวิชกะ กษัตริย์แห่งเมืองมคธโบราณสถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานทั้ง 4 ซึ่งประกอบด้วย สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน

สารนาถ
เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนาหรือเทศน์ครั้งแรกของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ได้แสดงธัมจักรกัปปวัตตนสูตร อันเป็นสูตรแรกที่พระองค์ แสดงเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ คือโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เมื่อแสดงธรรมจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และขออุปสมบทเป็นภิกษุรูปแรก ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้ง 5 รูป จึงเป็นสาวกรุ่นแรกในพุทธศาสนา เจดีย์ที่เห็นอยู่นี้ เรียกว่า ธัมเมกะสถูป สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ปัจจุบันห่างจากเมืองพาราณสี 15 กิโลเมตร



กุสินารา
เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งสถานที่ปรินิพพาน อยู่ในเขตสาลวโนทยาน จังหวัดโครักขปูร์ รัฐอุตตรประเทศ เป็นที่ร่มรื่น มีต้นไม้สาละล้อมรอบ เดิมเป็นสวนของพระเจ้ามัลละกษัตริย์ หลังจากปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วน ปัจจุบันมีพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ 1 องค์

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ธรรม..ทำดี

ผลงาน นร.ที่ แต่งกลอน
รณรงค์ให้คนทำความดี

โดย นร.ชั้น ม.4 ปีการศึกษา 2553


การทำดี คิดดี และพูดดี
ก็เพราะมีจิตที่เป็นกุศล
การทำดีไม่ต้องมีสิ่งเจือปน
ทุกๆคนทำได้อย่างง่ายดาย
จะทำดีต้องทำเองจึงจะได้
เหมือนว่าไว้ความดีไม่มีขาย
แม้จะมีเงินทองกองมากมาย
จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ทำ


วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระพุทธศาสนากับการเมืองและสันติภาพ

อัตตาธิปไตย

การถือตนเองเป็นใหญ่ คนที่ถือตนจะต้องทำความดี

โลกาธิปไตย

การถือชาวโลกเป็นใหญ่ หมายถึง ถือความคิดเห็นของคนส่วนมากเป็นใหญ่

ธรรมาธิไปตย

คือ การถือความชอบธรรมเป็นใหญ่ เป็นารให้ความสำคัญแก่การปฏิบัติตนตามหลักธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุปผลการสอบ

สรุปผลการสอบกลางภาคเรียนที่1/2553

รายวิชาศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม (ส31101)


จำนวนข้อสอบ 60 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน (20%)

คะแนนสูงสุด 45 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 4 คะแนน

ม.4/1 ผ่าน 15 คน ไม่ผ่าน 18 คน จำนวน นร. ทั้งหมด 33 คน

ม.4/2 ผ่าน 24 คน ไม่ผ่าน 6 คน จำนวน นร. ทั้งหมด 30 คน

ม.4/3 ผ่าน 11 คน ไม่ผ่าน 22 คน จำนวน นร. ทั้งหมด 33 คน

ม.4/4 ผ่าน 14 คน ไม่ผ่าน 17 คน จำนวน นร. ทั้งหมด 31 คน

ม.4/5 ผ่าน 14 คน ไม่ผ่าน 20 คน จำนวน นร. ทั้งหมด 34 คน

ม.4/6 ผ่าน 19 คน ไม่ผ่าน 14 คน จำนวน นร. ทั้งหมด 33 คน


รวม ผ่าน 97 คน ไม่ผ่าน 97 คน

จำนวนนักเรียนทั้งหมด 194 คน



วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทศชาติ

ทศชาติชาดก
เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง เพื่อให้จำง่าย มักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ

คือ เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว


เตมีย์ใบ้ชาดก

ชาติที่ 1 เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี - เตมียชาดก (เต) เป็นชาติแรกในทศชาติชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านาม พระสมณโคดม ชาตินี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การละทิ้งจากกามคุณทั้ง ๕

++++++



ชนกชาดก
ชาติที่ 2 เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี - มหาชนกชาดก (ช) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูดลองใจว่าให้พระองค์ยอมตายเสียเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิมนางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี


+++++++++


สุวรรณสามชาดก
ชาติที่ 3 เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี - สุวรรณสามชาดก (สุ) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพรหมฤๅษี ต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งกบิลยักษ์แผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดี พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี

++++++++



เนมิราชชาดก
ชาติที่ 4 เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี - เนมิราชชาดก (เน) เป็น
ชาติที่ 4 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราช โอรสเจ้าเมืองมิถิลา โปรดการบริจาคทานและรักษาพรหมจรรย์ พระอินทร์ทรงพอพระทัย ถึงกับให้พระมาตุลีนำทิพยรถมารับไปเที่ยวเมืองสวรรค์ และเมืองนรก แล้วเชิญให้ครองเมืองสวรรค์ พระเนมิราชไม่ทรงรับและเสด็จกลับบ้านเมืองของพระองค์ พอทรงชราก็ออกผนวช พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี

+++++++++




มโหสถชาดก
ชาติที่ 5 เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี

++++



ภูริทัตชาดก
ชาติที่ 6 เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี

+++++


จันทชาดก
ชาติที่ 7 เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี

+++++


นารทชาดก
ชาติที่ 8 เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี

++++++


วิทูรชาดก
ชาติที่ 9 เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี

++++


เวสสันดรชาดก
ชาติที่ 10 เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หรือเรื่องพระเวสสันดร







วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ร่วมทอดผ้าป่า








มาบอกบุญค่ะ..เชิญชวนร่วมทอดผ้าป่า
ในวันที่ 4 กันยายน 2553
ณ วัดประชานิมิต (วัดไสกล้วย)
ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
วัดแถวบ้านครูอี๊ดเองค่ะ
และจะมีการทำบุญครบรอบวันคล้ายวันมรณภาพ
ของตาหลวงอรรถ

อดีตเจ้าอาวาสวัดไสกล้วย ซึ่งเป็น ญาติผู้ใหญ่ของที่บ้าน
ทางบ้านบอกมาว่า หลวงอรรถ ศักดิ์สิทธิ์ มากๆ
ที่วัดมีรูปปั้นเหมือนจริงของท่านด้วย
ไว้กลับบ้านเมื่อไหร่จะถ่ายรูปมาให้ดู
ตอนนี้มีแต่รูปสภาพวัด ที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก
ได้มีโอกาสกลับไปทำบุญที่บ้าน นึกสะท้อนใจว่า ทำบุญ แต่วัดที่ จ.อื่น
วัดบ้านเกิดตัวเองแท้ๆ ไม่เคยได้มีส่วนร่วมอะไรเลย
ครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสอันนี้
จึงได้คุยกับที่บ้าน ว่า เราจะทำกฐินเองซะพุ่ม นะแม่นะ
โอเค เลย แม่บอก จัดมา...๕๕๕๕

























วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การสวดอัพภาน

อัพภาน
การเรียกเข้า (การรับกลับเข้าหมู่
เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติขั้น

สังฆาทิเสส ได้แก่การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติ รับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
และได้ทำโทษตนเองตามวิธีที่กำหนดเสร็จแล้ว ให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์

วิธีปฏิบัติ คือถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้ปิดไว้ พึงประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรีแล้วขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค

สงฆ์สวดอัพภานแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ, แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องปกปิดอาบัติไว้ล่วงวันเท่าใดต้องประพฤติวัตรเรียกว่า อยู่ปริวาสชดใช้ครบจำนวนวันเท่านั้นก่อน จึงประพฤติมานัตเพิ่มอีก ๖ ราตรี แล้วจึงขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค เมื่อสงฆ์อัพภานแล้ว อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องชื่อว่าเป็นอันระงับ

การสวดอัพภาน ก็ต้องใช้สงฆ์ตั้งแต่ ๒๑ รูปขึ้นไป


วิธีการขออัพภาน

ภิกษุผู้ประพฤติปริวาสพอสมควรและถูกต้องตามพระวินัยแล้ว
ชื่อว่าเป็น มานัตตารหะผู้ควรแก่มานัต เมื่อมานัตตจาริกภิกษุประพฤติมานัต ๖ ราตรี โดยวินัยแล้วชื่อว่าเป็น "อัพภานารหะ ผู้ควรอัพภาน"
เมื่อจะขออัพภานพึงเตรียม
ดอกไม้ธูปเทียนให้พร้อม
ห่มผ้าเฉวียงบ่า (ห่มดองรัดอกแบบจีบจีวร)
เข้าไปหาสงฆ์อย่างน้อย ๒๐ รูป

ในเขตพัทธสีมา แล้วถวายเครื่อง สักการะดอกไม้ธูปเทียน
ครั้นถวายสักการะแล้ว นั่งคุกเข่ากราบ ๓ หน ตั้งนะโม ๓ จบ
ถอยห่างจากหัตถบาสสงฆ์ในระยะพอสมควรแล้วกล่าวคำสมาทานมานัต (ดังคำสมาทานมานัตที่กล่าวไว้ ข้างต้นแล้ว)เมื่อกล่าวคำสมาทานมานัตแล้วจึงถอยห่างจากหัตถบาสสงฆ์ในระยะพอสมควร แล้วบอกมานัตต่อสงฆ์(ดังคำสมาทานและ คำบอก ที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว) เมื่อได้กล่าวมานัตแล้ว จึงเข้าไปในหัตถบาสสงฆ์ แล้วกล่าวคำขออัพภานต่อสงฆ์วีสติวรรค คือ ๒๐ รูป(๒๑ รูป รวมองค์สวด)เป็นอย่างน้อย

ที่มาข้อมูล..
http://www.phuttha.com


วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เขตพัทธสีมา


สีมา หมายถึงเขตหรือแดนที่กำหนดไว้สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์ เป็นเขตชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งพระสงฆ์กำหนดว่าผู้อยู่ในเขตนั้นจะต้องร่วมกันทำสังฆกรรมโดยความพร้อมเพรียงกัน
พัทธสีมา หมายถึงสีมาหรือเขตอดนที่พระสงฆ์ผูกไว้แล้ว คือพระสงฆ์ร่วมกันกำหนดให้เป็นเขตทำสังฆกรรมตาม
พระวินัย เรียกพิธีกรรมที่กำหนดอย่างนั้นว่า ผูกสีมา

โดยทั่วไปเรียกพัทธสีมาว่า โบสถ์ หรืออุโบสถ
เขตหรือแดนที่จะผูกเป็นพัทธสีมานั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน เพราะต้องเป็นเขตแยกต่างหากจากเขตแดนบ้าน ซึ่งเรียกว่า วิสุงคามสีมา


เขตที่สงฆ์กำหนดผูกขึ้นเพื่อใช้ทำสังฆกรรม มี ขนาดพอจุภิกษุที่นั่งห่างกันคืบหนึ่ง ๆ ได้ไม่น้อยกว่า ๒๑ รูป.

ทศพิธราชธรรม


ทศพิธราชธรรม ๑๐
คือธรรมสำหรับพระราชา ในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร ดังพระราชกรณียกิจที่ปรากฎ ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. ทานัง หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์

๒. ศีลัง หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ

๓. ปริจาคัง หรือการบริจาค อันได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์

๔. อาชชะวัง หรือความซื่อตรง อันได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร

๕. มัททะวัง หรือทรงเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

๖. ตะปัง หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน

๗. อักโกธะ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้

๘. อะวีหิสัญจะ คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร

๙. ขันติญจะ คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย

๑๐. อะวิโรธะนัง คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย

ที่มา..
http://web.ku.ac.th/king72/2542-11/page20.htm

การสังคายนาพระไตรปิฎก






การสังคายนาครั้งที่ 1


การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำขึ้น หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน

ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็นประธาน

พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์
พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม
พระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย

มีพระอรหันต์เข้าร่วมในการสังคายนา 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ
การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน

ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น

ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิม
เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ

พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์

เบญจขันธ์ 5

กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต

1. รูปขันธ์ กองรูป , ส่วนที่เป็นรูป , ร่างกาย , พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย , ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด , สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ

2. เวทนาขันธ์ กองเวทนา , ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ , ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ

3. สัญญาขันธ์ กองสัญญา , ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆได้ , ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น

4. สังขารขันธ์ กองสังขาร , ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง , สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ , คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

5. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ , ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ , ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6

ขันธ์ 5 นี้ ย่อมลงมาเป็น 2 คือ นาม และ รูป ; รูปขันธ์จัดเป็นรูป , 4 ขันธ์นอกจากเป็นนามอีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม 4 : วิญญาณขันธ์เป็นจิต , เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก , รูปขันธ์ เป็น รูป ,

ส่วน
นิพพาน เป็นขันธ์วินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5

ที่มา...http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/five_aggregates.htm

มิจฉาวณิชชา 5

มิจฉาวณิชชา 5

มิจฉาวณิชชา คือ การค้าขายที่ผิด หรือไม่ชอบธรรม หมายถึง บุคคลไม่ควรค้าขายสิ่งเหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อเพื่อนมนุษย์ต่อสัตว์และต่อสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย

สัตถวณิชชา คือ การขายอาวุธ ได้แก่ อาวุธปืน อาวุธเคมี ระเบิด นิวเคลียร์ อาวุธอื่น ๆ เป็นต้น อาวุธเหล่านี้หากมีเจตนาเพื่อทำร้ายกัน จะก่อให้เกิดการทำลายล้างซึ่งกันและกัน โลกจะไม่เกิดสันติสุข

สัตตวณิชชา หมายถึง การค้าขายมนุษย์ ได้แก่ การค้าขายเด็ก การค้าทาส ตลอดจนการใช้แรงงานเด็กและสตรีอย่างทารุณ

มังสวณิชชา หมายถึง ค้าขายสัตว์เป็น สำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหารเป็นการส่งเสริมให้ทำผิดศีลข้อที่ 1 คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

มัชชวณิชชา หมายถึง การค้าขายน้ำเมา ตลอดจนการค้าสารเสพติดทุกชนิด

วิสวณิชชา หมายถึง การค้าขายยาพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ รวมทั้งเป็นอันตรายต่อสัตว์

ทอดกฐิน





ความเป็นมาของกฐิน

ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบากพระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง จากนั้นทรงอนุญาติให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส

ภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงค์ 5 ประการ
คือ
1.เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
2.ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
3.ฉันคณะโภชน์ได้ (ฉันอาหารรวมกันเป็นหมวดหมู่)
4.ทรงอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา
5.จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ

ความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น

1.จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้

2.จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป

3.จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

4.จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้

5.จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป

6.จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

7.เป็นพระบรมพุทธานุญาติ

ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาติ เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาติผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาติเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง

กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้

ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12)

ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน

ที่มา...http://www.dmc.tv/forum/lofiversion/index.php/t14069.html

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ...http://www.thaitrip.com/kathin/

พุทธศาสนสุภาษิต


สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว)
สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง มิใช่ว่า เห็นว่าเป็นพุทธศาสนสุภาษิต หรือเห็นเป็นคำบาลี แล้วก็เดาเอาว่าเป็นพระพุทธพจน์ โดยมิได้ดูที่มาของสุภาษิตนั้นให้แน่นอน อาจจะเป็นการตู่พระพุทธวจนะได้

....ตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิต....

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก


น อุจุจวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆลงๆ

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

อสาธุ สาธุนา ชิเน พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี

โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตนเป็นคนไม่สะอาด

อโรคฺยปรมา ลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง

อปฺปมตฺตา น มียนฺต ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย


นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง






ที่มา..http://www.dhammathai.org/proverb/proverbthai.php


http://www.heritage.thaigov.net/religion/proverb/proverb.htm




วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท 4

คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ


๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่


แจ้งหัวข้อวัฒนธรรม M.2/4

ให้ นร.มาแจ้งหัวข้อ เรื่องที่จะทำ เกี่ยวกับวัฒนธรรม

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พรหมวิหาร4

พรหมวิหาร 4 ธรรมสำหรับผู้ปกครอง ประกอบด้วย

1. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
2. กรุณาหมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย

ความหมายของพรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร
แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

คำอธิบายพรหมวิหาร 4

1. เมตตา หมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ ความสุขของคฤหัสถ์4 อันได้แก่ ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

2. กรุณา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

2.1 ทุกข์ประจำหรือทุกข์โดยสภาวะ เป็นสิ่งที่มีชีวิตจะต้องประสบ อันเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ อันได้แก่ การเกิด ความแก่และความตาย สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

2.2 ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ไม่มีจิตใจอิจฉาริษยา

4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ตามกฎแห่งกรรม ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม






วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คำสาปฟาโรห์





เป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่อ่านและติดมานาน
เริ่มอ่านตั้งแต่ ตอนเรียน ม.1 เมื่อปี พ.ศ.2530
คำสาปฟาโรห์ (ญี่ปุ่น: 王家の紋章 Ouke no Monshou ?)
(อังกฤษ: Daughter of the Nile) เป็นการ์ตูนอิงประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ วาดโดย จิเอโกะ โฮโซคาวะ โดยใช้ แครอล เป็นตัวถ่ายทอด เธอได้ตกลงไปในห้วงอดีต 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยไอซิส จนพบกับ เมมฟิส ฟาโรห์แห่งอียิปต์ในยุคนั้น
เรื่องย่อ....

แครอล นักศึกษาชาวอเมริกัน ผมทอง ผิวขาว นัยน์ตาสีฟ้า ชื่นชอบอียิปต์โบราณและอารยธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ พ่อของเธอออกทุนในการค้นคว้าเกี่ยวกับสุสานฟาโรห์แห่งอียิปต์ โดยที่พี่ชายชื่อรอย และเพื่อนคู่ใจ ไรอัน(เมมฟิสกลับชาติมาเกิด ซึ่งจะรู้ในภาคที่5) ศาสตราจารย์ รวมทั้งเพื่อนชายคนรักของเธอ จิมมี่ รวมอยู่ในทีมสำรวจด้วย ทีมสำรวจค้นพบสุสานฟาโรห์เมมฟิส ภายหลัง ศพและของใช้ถูกขโมยไป แครอลทำป้ายดินเหนียวสะกดวิญญาณแตก เจ้าหญิงไอซิส พี่สาวเมมฟิส จึงฟื้นคืนชีพ ด้วยความแค้น เนื่องจากมีคนมายุ่งกับสุสานน้องชาย เธอจึงฆ่าพ่อของแครอลด้วยงูเห่า และพาเอาแครอล ผู้ซึ่งเป็นที่รักทุก ๆ คนกลับไปสู่โลกของอดีต
ตัวละครหลัก

แครอล ลินตัน (Carol Lido : Rido Karō)
ตัวเอกของเรื่อง เป็นเด็กสาวชาวอเมริกันจากยุคศตวรรษที่ 22 ผมสีทอง ตาสีฟ้า ผิวขาว อายุ 16 ปี เมื่อไปในอดีต ถูกเรียกว่า "เทพธิดาแห่งไนล์" มักจะถูกคนจากแคว้นต่างๆลักพาตัวไปอยู่เสมอ แต่เมมฟิสก็ไปช่วยกลับมาได้ทุกครั้ง

เมมฟิส (Memphis : Menfuisu)
ฟาโรห์หนุ่มรูปงามแห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ เมื่อ 3 พันปีก่อน มีผมยาวตรง สีดำ นิสัยใจร้อน ขี้โมโห เหี้ยมโหด กล้าหาญ น่าเกรงขาม เมมฟิสเริ่มรักแครอลตั้งแค่แรกพบ และได้อภิเษกสมรสกันในที่สุด

ไอซิส (Isis : Aishisu)
เจ้าหญิงแห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ เป็นพี่สาวของเมมฟิส มีรูปร่าง หน้าตางดงาม รักเมมฟิสน้องชายแท้ๆของตนเอง และเป็นคนพาแครอลไปในอดีต เธอต้องการที่จะฆ่าแครอล เพื่อที่จะเป็นราชินีแห่งอียิปต์

อิสมิล (Ishmin : Izumin)
เจ้าชายหนุ่มแห่งอาณาจักรฮิปไทท์โบราณซึ่งเป็นอาณาจักรที่กว้างใหญ่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงอนาโตเลีย มักจะเดินทางไปยังเมืองต่างๆเพื่อศึกษาและสำรวจ เขาตกหลุมรักแครอลตั้งแต่แรกพบ และหวังที่จะอภิเษกสมรสกับแครอลให้ได้





สามารถค้นหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมได้
http://www.pantown.com/board.php?id=36953&area=3&name=board10&topic=16&action=view

อ่านแล้วต้องกางแผนที่ยุคโบราณด้วยจะได้อรรถรสในการอ่านและที่สำคัญ ใครที่ถนัดด้านประวัติศาสตร์จะเป็นอะไรที่น่าติดตาม เพราะจะต้องคอยสังเกตและจำให้ได้ ว่าในการ์ตูนตรงกับของจริงหรือไม่ ในเรื่องของยุคสมัย..

ประเพณีฮีต 12

เดือน 10....บุญข้าวสาก





เดือนสิบเอ็ด : บุญออกพรรษา

ความดีสวยงามเสมอ







ถังน้ำใจ

เมืองไทยมีดี

พละ5

กำลัง 5 อย่างของผู้นำ

พละ 5 เป็นธรรมที่ทำให้บุคคลที่ปฏิบัติธรรมีบุคลิกภาพของผู้นำ ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีสติปัญญาที่จะนำตนเองให้ยิ่งใหญ่ในกิจของตน ทำให้เกิดความมั่นคงแก่ชีวิต พละ 5 เมื่อฝึกดีแล้วจะเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของบุคคล มีรายละเอียดดังนี้


พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง — power)

1. สัทธา (ความเชื่อ — confidence)
2. วิริยะ (ความเพียร — energy; effort)
3. สติ (ความระลึกได้ — mindfulness)
4. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น — concentration)
5. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด — wisdom; understanding)

สังคหวัตถุ4

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย




ที่มา : http://www.learntripitaka.com/scruple/sank4.html