วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พุทธจริยา

พุทธจริยา หมายถึง
การทรงบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า
มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่

1. โลกัตถจริยา เป็นการบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก ซึ่งเป็นการที่พระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แก่ชาวโลก โดยการแสดงออกในพุทธกิจประจำวัน


พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ

พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม

พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย

พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย

พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น

2. ญาตัตถจริยา เป็นการบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ เช่นเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำ

3. พุทธัตถจริยา เป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่พระพุทธเจ้า เช่น

...ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์..หมายถึงสัตว์ที่พึงแนะนำได้
...ทรงบัญญัติวินัยขึ้นเพื่อบริหารหมู่คณะ
...ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักการอ่านออกเสียงบาลี

๑. พยัญชนะที่ไม่ปรากฏสระใดประกอบให้เข้าใจว่ามีเสียงสระ อะ อยู่ด้วย ให้อ่านออกเสียงเหมือนมีสระ อะ ประกอบ ไม่ต้องอ่านออกเสียง อะ เต็มเสียงนัก เพราะ อะ เป็นสระเสียงสั้น (รัสสะ) และเป็นเสียงเบา (ลหุ) เช่น สรณํ อ่านออกเสียงว่า สะ-ระ-ณัง

๒. พยัญชนะที่มีจุด (พินทุ) อยู่ข้างล่าง แสดงว่าพยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด ห้ามออกเสียง เช่น

พหุปฺปเทหิ อ่านออกเสียงว่า พะ-หุป-ปะ-เท-หิ

(ห้ามออกเสียงว่า พะ-หุ-ปะ-ปะ-เท-หิ)

อุณฺณานาภี อ่านออกเสียงว่า อุณ-ณา-นา-ภี

(ห้ามออกเสียงว่า อุ-ณะ-ณา-นา-ภี)

เมตฺตํ อ่านออกเสียงว่า เมต-ตัง คำอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

๓. ถ้าพยัญชนะที่อยู่ข้างหน้าพยัญชนะตัวที่มีจุด ไม่ประกอบด้วยสระใดๆ ให้อ่านออกเสียงดุจไม้หันอากาศในภาษาไทย เช่น

ปฏิกฺกมนฺตุ อ่านออกเสียงว่า ปะ-ฏิก-กะ-มัน-ตุ

วิรูปกฺเขหิ อ่านออกเสียงว่า วิ-รู-ปัก-เข-หิ

สตฺตา อ่านออกเสียงว่า สัต-ตา

๔. เฉพาะพยัญชนะ ๔ ตัวนี้ คือ ย ร ล ว ถ้าอยู่หลังพยัญชนะตัวอื่น ให้ออกเสียงผสมกับพยัญชนะตัวหน้า โดยออกเสียงควบกล้ำกัน อย่าออกให้เต็มเสียง เช่น

ฉพฺยาปุตฺเตห อ่านออกเสียงว่า ฉัพ-พยา-ปุต-เต-หิ

ภทฺราน อ่านออกเสียงว่า ภัท-ทรา-นิ

อินฺทฺริยานิ อ่านออกเสียงว่า อิน-ทริ-ยา-นิ

วากฺยํ อ่านออกเสียงว่า วาก- กยัง


เสียง พ ซึ่งเป็นตัวสะกดในคำแรก กับ ย ให้ออกเสียงควบกล้ำกัน คือ คล้ายๆ จะออกเป็น ฉัพะยา คือคล้ายกับ เสียง พ ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดด้วย และแบ่งเสียงไปควบกับ ย ด้วย แม้คำอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

๕. จุดโปร่ง หรือ นิคคหิต (อํ) จัดเป็นพยัญชนะตัวหนึ่งในภาษาบาลี ประกอบกับสระ อะ อิ อุ คือ อํ อึ อุ ออกเสียงเป็น อัง อิง อุง

เช่น สรณํ หึสิ กาตุ อ่านออกเสียงเป็น สะระณัง หิงสิ กาตุง ตามลำดับ

๖. ส มีเสียงคล้าย ตัว s ในภาษาอังกฤษ และแม้เป็นตัวสะกด ก็ให้ออกเสียงได้เล็กน้อย เช่น

กสฺมา อ่านออกเสียงว่า กัสะมา

ตสฺมา อ่านออกเสียงว่า ตัสะมา

๗. พยัญชนะ ย ที่ซ้อนหน้าตัวเอง ในคำว่า อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย เสยฺโย วิญฺเญยฺยํ วฑฺเฒยฺยํ ให้อ่านออกเสียงคล้าย อัยยะ ห้ามออกเสียง เป็น เอยยะ เช่น

อาหุเนยฺโย อ่านออกเสียงว่า อา-หุ-ไนย-โย

ปาหุเนยฺโย อ่านออกเสียงว่า ปา-หุ-ไนย-โย

วิญฺเญยฺยํ อ่านออกเสียงว่า วิญ-ไญย-ยัง เป็นต้น

๘. คำที่ลงท้ายด้วย ตฺวา ตฺวาน ให้ออกเสียงตัว ต สะกด และออกเสียงตัว ต นั้นอีกกึ่งเสียง เช่น

กตฺว อ่านออกเสียงว่า กัต - ตวา

กตฺวาน อ่านออกเสียงว่า กัต - ตวา - นะ

คเหตฺวา อ่านออกเสียงว่า คะ-เหต- ตวา

สริตฺวา อ่านออกเสียงว่า สะ-ริต-ตวา

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุปแนวข้อสอบ สังคม ม.2 ปลายภาค/2553

แบบตัวเลือก ทั้งหมด 60 ข้อ
2 สาระ หน้าที่พลเมือง และ ศาสนา

สาระหน้าที่พลเมือง มีดังนี้
1. พลเมืองดี
2. พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
3. กฎหายในชีวิตประจำวัน- การเกิด การตาย การหมั้น การสมรส มรดก การรับบุตรบุญธรรม...
4. สภาผู้แทนราษฎร
5. ศาลยุติธรรม

สาระศาสนา มีดังนี้
1. ทิศ 6
2. พรหมวิหาร4
3. การบริจาคทานของศาสนาอิสลาม
4. หลักคำสอนของอิสลาม...
5.ตรีเอกานุภาพ
6. พราหมณ์ฮินดู
7.หลักของศาสนาคริสต์
8.วันเข้าพรรษา
9. อัปปิยวาจา สมานัตตา สาราณียธรรม

ทิศ 6


ทิศ 6 หลักธรรมที่สอนให้เราปฏิบัติต่อบุคคลรอบด้าน พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 6 ด้าน เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 ประกอบด้วย


1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา


2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์


3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา


4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย


5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ


6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

ที่มา..http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/teachings/tis6.htm