วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
กามคุณ 5
สติปัฏฐาน ๔
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
- เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
- จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
- ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
สมบัติ ๔ วิบัติ ๔
1. คติสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งคติ หรือถึงพร้อมด้วยคติ ในช่วงยาว หมายถึง เกิดในกำเนิดอันอำนวย หรือที่เกิดอันเจริญในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินดีหรือทำสิ่งที่ถูกต้อง คือในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นที่อยู่นั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น เอื้ออำนายแก่การกระทำความดี หรือการเจริญงอกงามของความดี ทำให้ความดีปรากฏโดยง่าย
2. อุปธิสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งร่างกาย ถึงพร้อมด้วยรูปกาย มีรูปกายที่ดีพร้อม ในช่วงยาว หมายถึง มีการสง่า สวยงามบุคลิกภาพดี ในช่วงสั้น หมายถึง มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี
3. กายสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งกาล ถึงพร้อมด้วยกาล ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ หรือบ้านเมืองสงบสุข มีการปกครองที่ดี คนในสังคมอยู่ในศีลธรรม สามัคคีกัน ยกย่องคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง ทำถูกกาลเวลา
4. ปโยคสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งการประกอบ ถึงพร้อมด้วยการประกอบความเพียร ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ถูก นำความเพียรไปใช้ขวานขวายประกอบการที่ถูกต้องดีงาม มีปกติประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ทำแต่ความดีงามอยู่แล้ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อทำกรรมดี ก็ทำให้ถึงขนาด ทำจริงจัง ให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ใช้วิธีการที่เหมาะกับเรื่อง หรือทำความดีต่อเนื่องมาเป็นพื้นแล้ว กรรมดีที่ทำเสริมเข้าไปอีก จึงเห็นผลได้ง่าย
วิบัติ 4
วิบัติ หมายถึง ข้อเสีย,จุดอ่อน,ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลดีของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล หรือส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว ประกอบด้วย
1. คติวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งคติ,คติเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนินต่ำทราม หรือเกิดในที่ไร้ความเจริญ ในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินชีวิตไม่ดี หรือทำไม่ถูกเรื่อง ไม่ถูกที่ คือ ในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นนั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่ความชั่วและผลร้าย
2. อุปธิวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งร่างกาย ,รูปกายเสีย ในช่วงยาว หมายถึง ร่างกายพิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้น หมายถึง สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคเบียดเบียน
3. กาลวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งกาล กาลเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่วเป็นใหญ่ บีบคั้นคนดี เป็นต้น ในช่วงสั้นหมายถึง ทำผิดกาลเวลา
4. ปโยควิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งการประกอบกิจการเสีย ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจดใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบคาวมดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่วหักล้างความดี เป็นต้น
วิบัติ 4 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม เพราะการปรากฏของวิบากกรรม นอกจากอาศัยเหตุหรือกรรมแล้ว ยังต้องอาศัยฐานคือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย