วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

คือ ร่องรอยที่มนุษย์ได้กระทำไว้ และหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน

ส่วนกระบวนการในการแสวงหาข้อเท็จจริง

เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์

 


 

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กามคุณ 5

กามคุณ 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสถูกต้องของร่างกาย

กามคุณ กามตัณหา ความทะยานอยากในอารมณ์
(อารมณ์คือ การคิด การปรุงแต่งหรือจินตนาการ)
ล้วนเกิดจากกิเลสคือความอยาก หลักธรรมทางศาสนาสอนให้ผู้ต้องการพ้นจากห้วงแห่งกามโดยการหมั่นพิจารณาสติ
โดยจิตภาวนาบริกรรมกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ การศึกษาเหตุและปัจจัยในความทะยานอยาก
โดยมีศิล สมาธิ และปัญญา

สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน 4
เป็นหลักธรรมที่ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง
คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ
สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่

  1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

สมบัติ ๔ วิบัติ ๔

สมบัติ 4
สมบัติ หมายถึง ข้อดี ความเพียบพร้อม ความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งอำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี และไม่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล หรือส่วนประกอบอำนวยช่วยเสริมกรรมดี ประกอบด้วย

1. คติสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งคติ หรือถึงพร้อมด้วยคติ ในช่วงยาว หมายถึง เกิดในกำเนิดอันอำนวย หรือที่เกิดอันเจริญในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินดีหรือทำสิ่งที่ถูกต้อง คือในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นที่อยู่นั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น เอื้ออำนายแก่การกระทำความดี หรือการเจริญงอกงามของความดี ทำให้ความดีปรากฏโดยง่าย

2. อุปธิสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งร่างกาย ถึงพร้อมด้วยรูปกาย มีรูปกายที่ดีพร้อม ในช่วงยาว หมายถึง มีการสง่า สวยงามบุคลิกภาพดี ในช่วงสั้น หมายถึง มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี

3. กายสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งกาล ถึงพร้อมด้วยกาล ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ หรือบ้านเมืองสงบสุข มีการปกครองที่ดี คนในสังคมอยู่ในศีลธรรม สามัคคีกัน ยกย่องคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง ทำถูกกาลเวลา

4. ปโยคสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งการประกอบ ถึงพร้อมด้วยการประกอบความเพียร ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ถูก นำความเพียรไปใช้ขวานขวายประกอบการที่ถูกต้องดีงาม มีปกติประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ทำแต่ความดีงามอยู่แล้ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อทำกรรมดี ก็ทำให้ถึงขนาด ทำจริงจัง ให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ใช้วิธีการที่เหมาะกับเรื่อง หรือทำความดีต่อเนื่องมาเป็นพื้นแล้ว กรรมดีที่ทำเสริมเข้าไปอีก จึงเห็นผลได้ง่าย

วิบัติ 4

วิบัติ หมายถึง ข้อเสีย,จุดอ่อน,ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลดีของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล หรือส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว ประกอบด้วย

1. คติวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งคติ,คติเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนินต่ำทราม หรือเกิดในที่ไร้ความเจริญ ในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินชีวิตไม่ดี หรือทำไม่ถูกเรื่อง ไม่ถูกที่ คือ ในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นนั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่ความชั่วและผลร้าย

2. อุปธิวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งร่างกาย ,รูปกายเสีย ในช่วงยาว หมายถึง ร่างกายพิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้น หมายถึง สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคเบียดเบียน

3. กาลวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งกาล กาลเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่วเป็นใหญ่ บีบคั้นคนดี เป็นต้น ในช่วงสั้นหมายถึง ทำผิดกาลเวลา

4. ปโยควิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งการประกอบกิจการเสีย ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจดใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบคาวมดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่วหักล้างความดี เป็นต้น

วิบัติ 4 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม เพราะการปรากฏของวิบากกรรม นอกจากอาศัยเหตุหรือกรรมแล้ว ยังต้องอาศัยฐานคือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย


สรุปหัวข้อ-อ่านสอบ-สังคม ม.2-ศาสนา

1. พุทธประวัติ - สังเวชนียสถาน 2. อริยสัจ 4

3. อกุศลกรรม 4. นิพพานสุข

5. สาเหตุการเกิดศาสนา 6. ประเภทศาสนา

7. ศรัทธาในพระพุทธศาสนา 8. สังคหวัตถุ 4

9. ทางสายกลาง 10. องค์ประกอบของศาสนา

11. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

12. โอวาทปาติโมกข์ 13. สมบัติ 4 วิบัติ 4

14. วจีกรรม 15. กามคุณ 5

16. สติปัฏฐาน 17. พุทธศาสนสุภาษิต

18. ทิศ 6 19. พรหมวิหาร 4

20. หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม

21. ตรีเอกานุภาพ 22 อัปปิยวาจา

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พุทธจริยา

พุทธจริยา หมายถึง
การทรงบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า
มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่

1. โลกัตถจริยา เป็นการบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก ซึ่งเป็นการที่พระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แก่ชาวโลก โดยการแสดงออกในพุทธกิจประจำวัน


พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ

พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม

พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย

พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย

พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น

2. ญาตัตถจริยา เป็นการบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ เช่นเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำ

3. พุทธัตถจริยา เป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่พระพุทธเจ้า เช่น

...ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์..หมายถึงสัตว์ที่พึงแนะนำได้
...ทรงบัญญัติวินัยขึ้นเพื่อบริหารหมู่คณะ
...ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักการอ่านออกเสียงบาลี

๑. พยัญชนะที่ไม่ปรากฏสระใดประกอบให้เข้าใจว่ามีเสียงสระ อะ อยู่ด้วย ให้อ่านออกเสียงเหมือนมีสระ อะ ประกอบ ไม่ต้องอ่านออกเสียง อะ เต็มเสียงนัก เพราะ อะ เป็นสระเสียงสั้น (รัสสะ) และเป็นเสียงเบา (ลหุ) เช่น สรณํ อ่านออกเสียงว่า สะ-ระ-ณัง

๒. พยัญชนะที่มีจุด (พินทุ) อยู่ข้างล่าง แสดงว่าพยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด ห้ามออกเสียง เช่น

พหุปฺปเทหิ อ่านออกเสียงว่า พะ-หุป-ปะ-เท-หิ

(ห้ามออกเสียงว่า พะ-หุ-ปะ-ปะ-เท-หิ)

อุณฺณานาภี อ่านออกเสียงว่า อุณ-ณา-นา-ภี

(ห้ามออกเสียงว่า อุ-ณะ-ณา-นา-ภี)

เมตฺตํ อ่านออกเสียงว่า เมต-ตัง คำอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

๓. ถ้าพยัญชนะที่อยู่ข้างหน้าพยัญชนะตัวที่มีจุด ไม่ประกอบด้วยสระใดๆ ให้อ่านออกเสียงดุจไม้หันอากาศในภาษาไทย เช่น

ปฏิกฺกมนฺตุ อ่านออกเสียงว่า ปะ-ฏิก-กะ-มัน-ตุ

วิรูปกฺเขหิ อ่านออกเสียงว่า วิ-รู-ปัก-เข-หิ

สตฺตา อ่านออกเสียงว่า สัต-ตา

๔. เฉพาะพยัญชนะ ๔ ตัวนี้ คือ ย ร ล ว ถ้าอยู่หลังพยัญชนะตัวอื่น ให้ออกเสียงผสมกับพยัญชนะตัวหน้า โดยออกเสียงควบกล้ำกัน อย่าออกให้เต็มเสียง เช่น

ฉพฺยาปุตฺเตห อ่านออกเสียงว่า ฉัพ-พยา-ปุต-เต-หิ

ภทฺราน อ่านออกเสียงว่า ภัท-ทรา-นิ

อินฺทฺริยานิ อ่านออกเสียงว่า อิน-ทริ-ยา-นิ

วากฺยํ อ่านออกเสียงว่า วาก- กยัง


เสียง พ ซึ่งเป็นตัวสะกดในคำแรก กับ ย ให้ออกเสียงควบกล้ำกัน คือ คล้ายๆ จะออกเป็น ฉัพะยา คือคล้ายกับ เสียง พ ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดด้วย และแบ่งเสียงไปควบกับ ย ด้วย แม้คำอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

๕. จุดโปร่ง หรือ นิคคหิต (อํ) จัดเป็นพยัญชนะตัวหนึ่งในภาษาบาลี ประกอบกับสระ อะ อิ อุ คือ อํ อึ อุ ออกเสียงเป็น อัง อิง อุง

เช่น สรณํ หึสิ กาตุ อ่านออกเสียงเป็น สะระณัง หิงสิ กาตุง ตามลำดับ

๖. ส มีเสียงคล้าย ตัว s ในภาษาอังกฤษ และแม้เป็นตัวสะกด ก็ให้ออกเสียงได้เล็กน้อย เช่น

กสฺมา อ่านออกเสียงว่า กัสะมา

ตสฺมา อ่านออกเสียงว่า ตัสะมา

๗. พยัญชนะ ย ที่ซ้อนหน้าตัวเอง ในคำว่า อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย เสยฺโย วิญฺเญยฺยํ วฑฺเฒยฺยํ ให้อ่านออกเสียงคล้าย อัยยะ ห้ามออกเสียง เป็น เอยยะ เช่น

อาหุเนยฺโย อ่านออกเสียงว่า อา-หุ-ไนย-โย

ปาหุเนยฺโย อ่านออกเสียงว่า ปา-หุ-ไนย-โย

วิญฺเญยฺยํ อ่านออกเสียงว่า วิญ-ไญย-ยัง เป็นต้น

๘. คำที่ลงท้ายด้วย ตฺวา ตฺวาน ให้ออกเสียงตัว ต สะกด และออกเสียงตัว ต นั้นอีกกึ่งเสียง เช่น

กตฺว อ่านออกเสียงว่า กัต - ตวา

กตฺวาน อ่านออกเสียงว่า กัต - ตวา - นะ

คเหตฺวา อ่านออกเสียงว่า คะ-เหต- ตวา

สริตฺวา อ่านออกเสียงว่า สะ-ริต-ตวา